เมื่อมีอายุเพียงสิบสี่ปี ชีวิตของณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ หรือ น้องธันย์ ก็ได้เปลี่ยนไปตลอดกาล วันที่เธอกำลังเดินทางไปเรียน ขณะที่เธอกำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ น้องธันย์ได้ประสบอุบัติเหตุจากรถไฟฟ้า ที่ทำให้เธอต้องสูญเสียขาทั้งสองข้าง แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำตามเป้าหมายและความฝันของเธอ อีกทั้งด้วยการสนับสนุนและกำลังใจจากครอบครัวและเพื่อน ๆ ทำให้เธอเรียนรู้ที่จะปรับตัว ให้เข้ากับชีวิตใหม่ของเธอ ในฐานะผู้พิการทางการเคลื่อนไหว แต่ น้องธันย์ ก็ยังฝันถึงการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เธอรักอีกครั้ง เมื่อเธอจบการศึกษา และเธอแสดงให้เห็นว่าเธอยังคงใช้ชีวิตได้ตามปกติ แม้จะประสบอุบัติเหตุ ในวันนี้ เธอใช้บทเรียนชีวิต และประสบการณ์ส่วนตัวของเธอเอง เพื่อเป็นนักพูดที่สร้างแรงบันดาลใจ โดยน้องธันย์ หวังจะช่วยให้ผู้อื่นได้ไตร่ตรองถึงตัวเอง เพื่อทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น เหมือนอย่างวิธีที่เธอคิดและการเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่เธอได้ประสบมา

ด้วยแรงบันดาลใจจากคุณพ่อของเธอ ที่กำลังมองหาบัดดี้ในการดำน้ำ ทำให้น้องธันย์ ได้ตัดสินใจมาเรียนดำน้ำแบบสคูบา แม้เธอจะนับว่าเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และเธอไม่สามารถใช้ขาของเธอในการดำน้ำได้ แต่ด้วยความตั้งใจและกำลังใจ ทำให้เธอสามารถผ่านหลักสูตการดำน้ำที่เธอตั้งใจ ได้ด้วยสองมือของเธอนั่นเอง และเมื่อจบหลักสูตรการดำน้ำ น้องธันย์ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ ‘ยิ้มสวย’ ของคอลเกต (ประเทศไทย) ที่ได้ถ่ายทอดการดำน้ำของเธอหลังจากที่เธอได้มาเรียนดำน้ำในหลักสูตรแรก เธอได้ตกหลุมรักท้องทะเลของประเทศไทย และตอนนี้ น้องธันย์ ก็กำลังเรียนหลักสูตร PADI Advanced Open Water Diver และ Enriched Air Diver เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ในการดำน้ำที่เธอรักต่อไป

เราได้นั่งพูดคุยกับน้องธันย์และถามคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์การดำน้ำของเธอที่มีจนถึงตอนนี้

Nitcharee Peneakchanasak - Amputee Diver

อะไรที่เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการเรียนดำน้ำ และน้องธันย์เอาชนะมันได้อย่างไร?

ธันย์เป็นคนหนึ่งที่ชอบทะเล และชอบไปเที่ยวสวนสัตว์น้ำมาก ๆ เพราะรู้สึกว่ามันมีความสวยงาม นั่นเลยเป็นความฝันที่อยากจะ มีโอกาสดำน้ำลงไปใต้ท้องทะเลเพื่อดูของจริงสักครั้ง แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุสูญเสียอวัยวะที่สำคัญไป ธันย์เลยคิดว่าโอกาสนั้น คงจะไม่เกิดขึ้นแล้ว แต่ก็ได้กลับมาคิดว่า เราสามารถทำได้ หากเราแข็งแรงและมีความพร้อมทางใจที่มากพอ เลยเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตที่ จะต้องกลับมาใช้ชีวิตให้เป็นปกติที่สุดและเร็วที่สุดเพื่อที่ธันย์จะได้ไปทำสิ่งที่รัก นั่นคือการดำน้ำ ธันย์เปลี่ยนวิธีคิดอย่างแรกว่า ถึงแม้จะ ไม่มีขาแต่เราก็สามารถดำน้ำซึ่งเป็นสิ่งที่รักได้ เพียงลองทำก่อน เมื่อธันย์ได้เปลี่ยนวิธีคิดและลองทำจริง ๆ มันก็ทำได้และไม่ได้ยากอย่างที่คิด


อะไรคือสิ่งที่ชอบมากที่สุดเกี่ยวกับการดำน้ำ?

สิ่งที่ธันย์ชอบในการดำน้ำคือ แม้ว่าธันย์จะไม่มีขาทั้ง 2 ข้าง แต่ธันย์ก็สามารถไปได้ทุก ๆ ที่ใต้ท้องทะเลอันกว้างใหญ่ โดยไม่ต้องมีขา หรือวีลแชร์ ชอบความอิสระใต้ท้องทะเล ชอบความสวยงามและความเงียบสงบ ที่สำคัญเราได้ใกล้ชิดกับสัตว์น้ำที่ชื่นชอบ


น้องธันย์มีคำแนะนำอะไรบ้างสำหรับผู้ที่พิการคนอื่น ๆ ที่ต้องการเรียนดำน้ำ?

ถึงแม้จะมีความพิการทางร่างกาย แต่เราสามารถลองศึกษาหรือลองมาเรียนดูก่อน รวมถึงมาคุยกับผู้เชี่ยวชาญก่อนได้ อย่าปิดกั้นตนเองว่าไม่สามารถทำได้


สถานที่ที่ดีที่สุดที่น้องธันย์เคยดำน้ำมาคือที่ใด และเพราะเหตุใด?

ธันย์ชอบการไปดำน้ำที่หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา เพราะเป็นสถานที่ที่ทะเลสวยมาก ๆ น้ำใสและมีความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต

The Similan Islands - Thailand

เป้าหมายในการดำน้ำในอนาคตคืออะไร?

สำหรับเป้าหมายในการดำน้ำของธันย์คือการได้มีโอกาสไปดำน้ำในต่างประเทศ และได้มีโอกาสเรียนดำน้ำในระดับที่สูงขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาส ในการไปดำน้ำในที่ใหม่ ๆ และรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้นตามระดับที่ได้เรียนรู้


คุณพ่อคุณแม่ของน้องธันย์รู้สึกอย่างไรบ้าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อ) เกี่ยวกับการดำน้ำในตอนนี้?

คุณพ่อรู้สึกดีใจที่ธันย์สามารถก้าวข้ามขีดจำกัด ทำในสิ่งที่หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ ที่สำคัญคุณพ่อมีความสุข ที่ได้เห็นธันย์ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับการดำน้ำ


น้องธันย์อยากให้การผจญภัยดำน้ำครั้งต่อไปเป็นที่ใด?

ในอนาคตธันย์มีความฝันอยากไปดำน้ำที่ Maldives เพราะอยากไปดูความสวยงามและได้ทำตามความฝันในการไปดำน้ำในต่างประเทศด้วย

w maldives reef

มาร่วมแสดงความยินดีให้กับ ณิชชารีย์ หรือน้องธันย์ กับความสำเร็จในการดำน้ำของเธอในปัจจุบัน และการผจญภัยอย่างครั้งต่อไปของเธอที่กำลังเรียนหลักสูตร PADI Advanced Open Water และหลักสูตร Enriched Air Diver

อยากเรียนดำน้ำแบบเธอหรือยัง มันไม่ได้ยากอย่างทางที่คุณคิด เริ่มเรียนหลักสูตร Open Water Diver eLearning course จากที่บ้านด้วย PADI eLearning


บล็อกบทความเขียนโดย โรเบิร์ต สคามเมล ผู้จัดการประจำภูมิภาคของ PADI

Share This

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง