เกาะเต่า, ประเทศไทย, สวรรค์ของการดำน้ำที่รู้จักกันดีทั่วโลกได้เปิดจุดดำน้ำซากเรือใหม่ที่เกาะเต่า 2 จุด ได้แก่ เรือหลวงสู้ไพรินทร์และเรือหลวงหาญหักศัตรู เรือหลวงเหล่านี้เคยได้รับใช้กองทัพเรือในฐานะเรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี ปัจจุบันเรือหลวงทั้งสองลำนี้ได้ถูกจมลงใต้ท้องทะเลเพื่อเป็นอุทยานการเรียนรู้ใต้ทะเลให้นักดำน้ำได้มีโอกาสมาสำรวจท้องเรือและค้นพบประวัติศาสตร์อันน่าทึ่งที่ซ่อนอยู่ใต้คลื่นมหาสมุทร

เอื้อเฟื้อภาพโดยสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า

การดำน้ำซากเรือใหม่ที่เกาะเต่านั้น นับเป็นโอกาสพิเศษที่นักดำน้ำจะได้ดำดิ่งเข้าไปถึงประวัติศาสตร์ ได้มีประสบการณ์พบเห็นความพยายามในการอนุรักษ์ท้องทะเล รวมถึงได้ประจักษ์เห็นเป็นพยานถึงสิ่งมีชีวิตใต้น้ำที่รายล้อมรอบแนวปะการังเทียมของซากเรือใต้มหาสมุทร ทั้งนี้การวางเรือหลวงสู้ไพรินทร์และเรือหลวงหาญหักศัตรูในครั้งนี้เป็นโครงการทดลองที่ต้องการจะสืบสานประวัติศาสตร์ อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศใต้ท้องทะเลไปพร้อมกัน

ในบทความนี้ เราจะดำลงไปสำรวจเบื้องหลังของเรือหลวงเหล่านี้ ถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ การอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศใต้ทะเล ข้อจำกัดในการดำน้ำเพื่อสำรวจซากเรือและหลักสูตรสำหรับนักดำน้ำผู้ต้องการเริ่มการผจญภัยที่ซากเรือใหม่แห่งนี้

เอื้อเฟื้อภาพโดยสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า


ข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์

หลังจาก 42ปีของการรับใช้ เรือหลวงทั้งสองลำได้ถูกปลดประจำการในปี พ.ศ.2561/ค.ศ.2018 และถูกส่งมอบให้แก่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อเริ่มภารกิจใหม่ในการเป็นอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเลแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเกาะในพื้นที่เกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ในการวางเรือครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งต่อการรักษาประวัติศาสตร์และอนุรักษ์ทะเลและยังเปิดโอกาสในนักดำน้ำได้สำรวจศึกษาประวัติศาสตร์เรือหลวงอันมรดกของกองทัพเรือไทย

เรือหลวงสู้ไพรินทร์และเรือหลวงหาญหักศัตรูนั้นขึ้นระวางประจำการเพื่อรับใช้กองทัพเรือไทยในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในฐานะเรือรบหลวงติดอาวุธปล่อยจรวดนำวิถีต่อต้านเรือรบแบบ Gabriel เรือยนต์เร็วโจมตีติดอาวุธทั้งสองลำนี้ได้ปกปักรักษาประเทศและปฏิบัติการรับใช้หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ


เอื้อเฟื้อภาพโดยสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า

ซากเรือคือแนวปะการังเทียม: ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล

การจมเรือหลวงสู้ไพรินทร์และเรือหลวงหาญหักศัตรูนั้นจะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลอย่างมีนัยะสำคัญ โดยประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมีดังนี้

  • เป็นที่อยู่อาศัยและที่หลบภัยของสัตว์น้ำ: ปัจจุบันเรือเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นแนวปะการังเทียมเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและที่หลบภัยของสิ่งมีชีวิตในทะเลรวมถึงการเพาะปะการังซึ่งจะดึงดูดสัตว์น้ำนานาพันธุ์ และช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศโดยรอบ
  • รับมือความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ: แนวปะการังเทียมนั้นมีความทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและมลพิษ ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความมั่นคงให้แก่สัตว์น้ำรอบบริเวณ นอกจากนี้แนวปะการังยังก่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศและชีวภาพทางทะเลอีกด้วย
  • บรรเทาความแออัดของแหล่งดำน้ำ: เนื่องจากเกาะเต่าเป็นแหล่งดำน้ำที่มีความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่นักดำน้ำ การเพิ่มแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำของเรือหลวงสองลำนี้จะช่วยเพิ่มกิจกกรมดำน้ำและลดความหนาแน่นของแหล่งดำน้ำตามจุดต่างๆอีกด้วย

ซากเรือเหล่านี้ ไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมแต่ยังก่อให้เกิดประสบการณ์ที่สนุกสนาน ในฐานะผู้อำนวยการสอนดำน้ำ คุณฉัตรสกุล แก้วพะเนาว์ จาก Big Bubble Diving, กล่าวว่า “การเปิดจุดดำน้ำซากเรือใหม่ที่เกาะเต่าไม่เพียงแต่เป็นการอนุรักษ์ปะการัง และ ลดความหนาแน่นของผู้คนในพื้นที่ดำน้ำเท่านั้นนั้น แต่ยังช่วยขยายอาณาเขตให้กับนักดำน้ำได้มีตัวเลือกมากขึ้น มีโอกาสมากขึ้นในการสำรวจ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และฝึกฝนสกิลการดำน้ำได้ตลอดปีขณะที่ยังคงช่วยปกป้องสภาพแวดล้อมทางทะเลในบ้านเรา”


เอื้อเฟื้อภาพโดย Simon Krogsgaard จาก Assava Dive Resort

ตำแหน่งและความลึกของเรือหลวงสู้ไพรินทร์ และเรือหลวงหาญหักศัตรู

ค้นหาและติดต่อศูนย์ดำน้ำ PADI และรีสอร์ทเพื่อไปดําน้ำสำรวจซากเรือที่เกาะเต่าได้ที่ PADI Dive Shop Locator และเลือกใช้ตัวกรองเพื่อค้นหาร้านดําน้ำที่คุณชอบ

  • เรือหลวงหาญหักศัตรู: ตั้งอยู่ในอ่าวเมาบนชายฝั่งตะวันออกของเกาะเต่า ซากเรือนี้อยู่ลึงลงไปประมาณ 22-24 เมตร/72-79 ฟุตโดยด้านบนสุดของซากเรือปัจจุบันอยู่ที่ 13 เมตร/43 ฟุต
  • เรือหลวงสู้ไพรินทร์: ตั้งอยู่ใกล้กับ No Name Pinnacle ซากเรือนี้อยู่ลึกลงไปประมาณ 24-28 เมตร/79-92 ฟุต โดยยอดของซากเรือปัจจุบันอยู่ที่ 16 เมตร/52 ฟุต อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่ามีการอภิปรายอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการเพิ่มโครงสร้างอื่นที่อาจเพิ่มจุดสูงสุดเป็น 11 เมตร / 36 ฟุตในอนาคต

Rich Westwood เจ้าของFifty Six Dive พร้อมกับทีม Divemasters และครูผู้สอนต่างรู้สึกตื่นเต้นเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของจุดดำน้ำนี้เป็นพิเศษ “พวกเราทุกคนที่ Fifty Six Dive รู้สึกตื่นเต้นมากกับการมาถึงของซากเรือใหม่สองแห่งบนเกาะเต่า เพราะไม่เพียงจะสร้างประสบการณ์การดําน้ำสำรวจซากเรือที่หลากหลายให้กับนักดําน้ำ แต่ตําแหน่งที่ตั้งของซากเรือที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกฝั่งหนึ่งและอยู่ทางตะวันตกของเกาะอีกฝั่งหนึ่งนั้นหมายความว่าเราสามารถเพลิดเพลินกับการดําน้ำสำรวจซากเรือได้ตลอดทั้งปี! นอกจากนี้เรายังรอคอยที่จะเห็นซากเรือเหล่านี้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลต่างๆ ที่จะนําซากเรือเหล่านี้มาเป็นบ้านของพวกเขา”


เอื้อเฟื้อภาพโดย Simon Krogsgaard จาก Assava Dive Resort

ลักษณะและข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค

เช่นเดียวกับนักดำน้ำและผู้ชื่นชอบซากเรือที่กระตือรือร้นสนใจในการแบ่งปัน ชื่นชมในประวัติศาสตร์และข้อมูลจำเพาะพิเศษของเรือ เราจึงได้รวมข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคของซากเรือหลวงสู้ไพรินทร์และเรือหลวงหาญหักศัตรูนี้ตามด้านล่าง

ภารกิจ:

  • ป้องกันชายฝั่งโดยใช้ปืน 57/70 มม. (2.24/2.75 นิ้ว)
  • ป้องกันทางอากาศโดยใช้ปืน 57/70 มม. (2.24/2.75 นิ้ว) และ 40/70 มม. (1.57/2.75 นิ้ว)
  • ทําหน้าที่เป็นเรือพิคเก็ตสําหรับกองทัพเรือ
  • ปฏิบัติการร่วมกับกองสงครามพิเศษทางเรือ
  • ควบคุมบังคับบัญชาการระดับหมู่เรือ
  • ป้องกันระยะประชิดด้วยปืน 40/70 มม. (1.57 / 2.75 นิ้ว) และ. 50 นิ้ว

ข้อมูลจําเพาะของเรือ:

  • เข้าประจําการ: 5 กุมภาพันธ์ 1977
  • ปลดประจําการ: 1 ตุลาคม 2018
  • สร้างโดยบริษัท Singapore Shipbuilding and Engineering Ltd.

ลักษณะโดยทั่วไป:

  • ความยาวตลอดลำ: 44.90 เมตร / 147.3 ฟุต
  • ความกว้าง: 7.00 เมตร / 22.96 ฟุต
  • กินน้ำลึก: 2.11 เมตร / 6.92 ฟุต
  • ความเร็วโดยเฉลี่ย: 30 นอต
  • ความเร็วสูงสุด: 37.5 นอต / 46.4 ไมล์ต่อชั่วโมง
  • ระวางขับน้ำปกติ: 232 ตัน
  • ระวางขับน้ำเต็มกำลัง: 263 ตัน
  • ระยะการปฏิบัติการสูงสุด: 1,170 ไมล์ / 1,883 กิโลเมตร / 1,164 ไมล์
  • ปฏิบัติการต่อเนื่อง: 3 วัน

ระบบอาวุธ:

  • ปืน 57/70 มม. (2.24 / 2.75 นิ้ว) 1 กระบอก
  • ปืนกล 40/70 มม. (1.57/2.75 นิ้ว) 1 กระบอก
  • ปืนกล .50 นิ้ว 2 กระบอก
  • เครื่องควบคุมการยิง WM 28/5
  • แท่นยิงจรวดส่องสว่าง ขนาด 103 มม. ติดกับป้อมปืนใหญ่เรือ 6 ท่อยิง
  • แท่นยิงเป้าลวง Dagaie 1 แท่น 10 กล่องยิง

เอื้อเฟื้อภาพโดย Simon Krogsgaard จาก Assava Dive Resort

หลักสูตร PADI สําหรับผู้ชื่นชอบการดําน้ำสำรวจซากเรืออับปาง

จากจุดดำน้ำซากเรือใหม่ที่เกาะเต่า ซากเรือหลวงสู้ไพรินทร์และเรือหลวงหาญหักศัตรู พร้อมด้วยซากเรือเก่าที่เป็นที่นิยมอย่างเรือหลวงสัตกูด เรือหลวงยูนิคอร์น และเรือหลวงเอ็ม.วี ไทรเดนท์ ทำให้เกาะเต่าเป็นแหล่งดำน้ำสำรวจซากเรือที่น่าตื่นตาตื่นใจ อย่างไรก็ตามการดําน้ำสำรวจซากเรือจำเป็นต้องใช้ทักษะและความรู้เฉพาะทางในการใช้เครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมจึงจะปลอดภัย ผู้สนใจจึงควรได้รับการฝึกฝนจากหลักสูตร PADI Wreck Diver Specialty ซึ่งซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลา 2-4 วันจึงจะเสร็จสมบูรณ์ขึ้นอยู่กับสถาบันสอนดําน้ำ ทั้งนี้ศูนย์ดําน้ำและรีสอร์ทของ PADI ในเกาะเต่ามีหลักสูตรการดำน้ำที่หลากหลายและปลอดภัยเพื่อเตรียมนักดําน้ำให้พร้อมสําหรับประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นทั้งหมดนี้

หลักสูตรอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจเรียนรู้เพิ่มเพื่อเพิ่มสกิลในการสำรวจซากเรือที่เกาะเต่า

  • Deep Diver: ดําน้ำลึกถึง 40 เมตร/130 ฟุต ปลดล็อกการเข้าถึงซากปรักหักพังต่างๆ ทั่วโลก
  • Enriched Air (Nitrox) Diver: ขยายเวลาดําน้ำอย่างปลอดภัยโดยใช้ Enriched Air Nitrox และ a.k.a. Nitrox
  • Peak Performance Buoyancy: เพิ่มทักษะควบคุมการลอยตัวและสกิลการเคลื่อนตัวเพื่อความคล่องตัวในการสำรวจซากเรือ ถ่ายภาพหรือบันทึกวิดีโอ
  • Digital Underwater Photography: จับภาพอันน่าทึ่งของซากปรักหักพังที่คุณสํารวจพบเจอ
  • Sidemount: การดําน้ำด้วยถังอากาศคู่เพื่อยืดเวลาการดําน้ำ และยังเหมาะกับสภาพแวดล้อมขณะดำน้ำที่ไม่สามารถขึ้นเหนือน้ำได้ทันที
  • Technical Diving (Tec 40, 45 & 50+): สํารวจซากเรือในระดับความลึกที่มากขึ้น ฝึกฝนเทคนิคขั้นสูงเพื่อการเข้าสำรวจตามจุดต่างๆ อย่างแม่นยำ ปลอดภัยและขยายเวลาดําน้ำได้ยาวนานขึ้น
  • Diver Propulsion Vehicle: ร่อนไปรอบๆ ซากเรืออย่างง่ายดายด้วยสกูตเตอร์ใต้น้ำด้วยความเร็วในการเดินทางที่เร็วขึ้น และอากาศที่ประหยัดได้มากขึ้น จะช่วยเปิดโอกาสการสํารวจของคุณให้มากขึ้น

ไม่ว่าคุณจะเป็นนักดำน้ำมากประสบการณ์ที่กระหายการผจญภัยใหม่ หรือ เป็นมือใหม่ที่อยากกระโจนเข้าไปสำรวจซากเรือใต้น้ำ ซากเรือหลวงที่เกาะเต่านี้กำลังรอให้คุณไปค้นพบ เริ่มต้นเรียนรู้การเข้าสำรวจซากเรืออย่างปลอดภัยและเรียนรู้การรักษาสภาพแวดล้อมในทะเลตั้งแต่วันนี้ แล้วคุณจะพบกับประวัติศาสตร์ที่ทรงสเน่ห์ยาวนานและสัตว์น้ำที่แสนอัศจรรย์รายล้อมอยู่รอบซากเรือที่น่าสนใจนี้

Share This

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง